ตุ๊ก ชนกวนันท์ เปิดใจหย่า 12 ปี เคยคิดขายบ้านเอาเงินส่งลูกเรียน แจงความสัมพันธ์อดีตสามี
เปิดชีวิตคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวสุดสตรอง ตุ๊ก ชนกวนันท์ ชีวิตหลังหย่า 12 ปี ทำไมตอนนี้ยังโสด พร้อมควงลูกๆ น้องแพรว-น้องภูมิ เผยวิธีเลี้ยงลูกช่วงเข้าสู่วัยรุ่น เรื่องอะไรทำให้แม่ตุ๊กตื้นตันจนน้ำตาไหล จริงหรือไม่ หากไม่ไหวเรื่องเงินอาจต้องขายบ้านเอาเงินส่งลูกเรียน ผ่านทางรายการ คุยแซ่บshow ช่อง One31 ที่มีเบนซ์ พรชิตา และตั๊กแตน ชลดา เป็นพิธีกรดำเนินรายการ
ลูก 16 กับ 13 โตเร็วมากๆ ลูกๆ ได้รางวัลกันเยอะมาก?
ตุ๊ก : เป็นเด็กทำกิจกรรมช้าเหมือนกัน แพรวทำกิจกรรมตอน 11 เรียนบัลเล่ต์ตอน 11 เรียนกับเด็ก 8-9 ขวบ เกรด 1 ก็ค่อยๆ มา แต่รางวัลเวลาเราแข่งอะไร ค่อนข้างได้รางวัลกันหลายท่านแหละ ไม่ใช่ว่าเราได้คนเดียว มีทั้งรางวัลของน้องแพรวและน้องภูมิ อย่างว่ายน้ำ ไอซ์สเก็ต เราภูมิใจที่เหมือนเขาเห็นทางตัวเอง รู้ว่าชอบอะไรแล้วมาขอ ให้ไม่ได้ก็ตื๊อ บางอย่างก็ให้เลย บางอย่างเขาตื๊อ อย่างบัลเล่ต์เห็นใจสุด เพราะเขาเริ่มตอน 11 ตัวแข็ง ก็ตะกายของเขาไปได้ จนถึงเกรด 6 แล้วรีบไม่ได้ด้วยนะ ร่างกายมันโกงไม่ได้ เราต้องรอจริงๆ จนตอนนี้เพื่อนที่เรียนในห้องอายุเท่ากันแล้ว จากที่เรียนกับเด็กน้อย
โฆษณา – อ่านบทความต่อด้านล่าง
ได้ถ้วยรางวัลครั้งแรกจากอะไร?
ตุ๊ก : ขี่ม้า แต่ปีนึงมีการแข่งขันเยอะ มีทุกเดือน ต้องมีเดือนที่เป็นของเราบ้าง อันที่ไม่ได้ก็เยอะ
น้องแพรว : แข่งประเภทกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง ตอนนั้นอายุ 13
ตุ๊ก : พอไปเรียนจริงมีรายละเอียดเยอะ มีกระโดด มีขี่ม้าแบบสวยงาม เป๊ะ เป็นระเบียบ สวยงามข้ามเครื่อง 10 เครื่อง ซึ่งมันก็ยากต้องเรียน
น้องแพรว : ต้องมีเวลาด้วย
น้องแพรวอายุ 16 เป็นโค้ชแล้ว เป็นโค้ชอะไร?
น้องแพรว : ฟิกเกอร์ ไอซ์สเก็ตค่ะ
โฆษณา – อ่านบทความต่อด้านล่าง
ได้เงินก้อนแรกจากการเป็นโค้ชมาแล้ว?
น้องแพรว : ได้ค่ะ แต่ไม่ค่อยเยอะหรือเปล่า (หัวเราะ)
ตุ๊ก : นักเรียนมีสองคนถ้วน
รู้สึกยังไงทำงานได้เงินก้อนแรก?
น้องแพรว : นี่เป็นเงินที่เราทำขึ้นมาเอง รู้สึกดีใจค่ะ ได้เงินมาก็ให้ค่าขนมน้องด้วย
ตุ๊ก : เขาเพิ่งมีโทรศัพท์ ก็ใส่แอพพ์ ธนาคาร ให้ลองโอนเลยมั้ยวันจันทร์จะเปิดเทอม แม่โอนให้เลยแล้วกันเงินรายอาทิตย์ น้องภูมิบอกแม่ไม่ต้องโอน พี่แพรวบอกว่าจะโอนให้หนู มีทวงด้วย (หัวเราะ)
ทำไมไม่เก็บเงินก้อนแรกเอาไว้?
น้องแพรว : บ้านเราไม่ได้มีเงินมากขนาดนั้น ก็อยากช่วย อยากรับผิดชอบในส่วนหนู และช่วยแม่นิดนึงในส่วนของน้องด้วย
พอรู้น้องภูมิรู้สึกยังไง?
น้องภูมิ : ดีใจ ตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะให้ พอเขาให้ก็ไม่ได้ปฏิเสธ (หัวเราะ)
ไม่ใช่แค่น้องแพรว น้องภูมิก็ทำให้แม่ปลื้มปริ่มใจ?
ตุ๊ก : ปีนี้เป็นเรื่องราวการเปลี่ยนโรงเรียน พี่สาวไปเรียนก่อน รับส่งสองโรงเรียนอยู่ประมาณ 3 ปี ก็โอ้โห กระอักนิดนึง เขาก็สนใจและชอบ มีโอเพ่นเฮาส์ ที่สาธิต ม.ธรรมศาสตร์ จริงๆ เป็นหลักสูตรที่ใหม่มาก แพรวเป็นปีที่ 5 ภูมิเป็นปีที่ 8 เขาไปดูโอเพ่นเฮาส์แล้วเขาชอบ เขามีวิธีสอบเข้าที่ไม่เหมือนที่ใด จะวัดความเป็นมนุษย์ในตัวเด็ก วัดแอดติจูด วัดนิสัย การเข้าสังคม เขาก็ทำคะแนนได้ค่อนข้างดี เลยเข้าใจ เพราะลูกจะแข่งเยอะ มีถ้วยมีอะไร นักข่าวจะสัมภาษณ์บ่อย เราก็ภูมิใจและยินดีด้วยนะ แต่เราไม่ได้อินเพราะเราไม่ใช่สายกีฬา เราเป็นเด็กเนิร์ด พอเรื่องนี้เรารู้สึกว่า นี่แหละที่เราสร้างเขามาทั้งชีวิต ที่เราพยายามเลี้ยงเขามาทั้งชีวิต แล้วเขาเป็นเด็กที่โอเค โรงเรียนยอมรับว่าเป็นเด็กที่น่ารัก ก็ดีใจ
เห็นว่าร้องไห้เลย?
ตุ๊ก : ร้องไห้ตั้งแต่เช้ายันเย็น ร้องไม่เลิกอยู่คนเดียวแล้วโทรไปหาอากง อาม่า โทรบอกน้องเลขาที่เคยคลุกคลีกับน้อง
อยากเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กที่เข้าใจโลก อยู่อย่างมีความสุข ซึ่งสิ่งนี้วัดด้วยถ้วยรางวัลไม่ได้ ถ้วยรางวัลก็เป็นอีกแบบนึง แต่ระยะยาวๆ แล้ว อันนี้สำคัญมาก พี่ตุ๊กก็เป็นห่วงมาก?
ตุ๊ก : เป็นห่วงมาก เพราะสุดท้ายแล้วเขาจะอยู่เองโดยไม่มีเรา เราอาจหลงลูกคิดว่าเขาโอเค แต่พอมีคนช่วยบอกว่าโอเค ก็เหมือนช่วยคอนเฟิร์มว่าเราคิดไม่ผิด
น้องภูมิล่ะ รู้มั้ยคุณแม่ร้องไห้?
น้องภูมิ : ไม่รู้ แม่ไม่ได้บอก
น้องแพรว : แข่งประเภทกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง ตอนนั้นอายุ 13
ตุ๊ก : พอไปเรียนจริงมีรายละเอียดเยอะ มีกระโดด มีขี่ม้าแบบสวยงาม เป๊ะ เป็นระเบียบ สวยงามข้ามเครื่อง 10 เครื่อง ซึ่งมันก็ยากต้องเรียน
น้องแพรว : ต้องมีเวลาด้วย
น้องแพรวอายุ 16 เป็นโค้ชแล้ว เป็นโค้ชอะไร?
น้องแพรว : ฟิกเกอร์ ไอซ์สเก็ตค่ะ
โฆษณา – อ่านบทความต่อด้านล่าง
ได้เงินก้อนแรกจากการเป็นโค้ชมาแล้ว?
น้องแพรว : ได้ค่ะ แต่ไม่ค่อยเยอะหรือเปล่า (หัวเราะ)
ตุ๊ก : นักเรียนมีสองคนถ้วน
รู้สึกยังไงทำงานได้เงินก้อนแรก?
น้องแพรว : นี่เป็นเงินที่เราทำขึ้นมาเอง รู้สึกดีใจค่ะ ได้เงินมาก็ให้ค่าขนมน้องด้วย
ตุ๊ก : เขาเพิ่งมีโทรศัพท์ ก็ใส่แอพพ์ ธนาคาร ให้ลองโอนเลยมั้ยวันจันทร์จะเปิดเทอม แม่โอนให้เลยแล้วกันเงินรายอาทิตย์ น้องภูมิบอกแม่ไม่ต้องโอน พี่แพรวบอกว่าจะโอนให้หนู มีทวงด้วย (หัวเราะ)
ทำไมไม่เก็บเงินก้อนแรกเอาไว้?
น้องแพรว : บ้านเราไม่ได้มีเงินมากขนาดนั้น ก็อยากช่วย อยากรับผิดชอบในส่วนหนู และช่วยแม่นิดนึงในส่วนของน้องด้วย
พอรู้น้องภูมิรู้สึกยังไง?
น้องภูมิ : ดีใจ ตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะให้ พอเขาให้ก็ไม่ได้ปฏิเสธ (หัวเราะ)
ไม่ใช่แค่น้องแพรว น้องภูมิก็ทำให้แม่ปลื้มปริ่มใจ?
ตุ๊ก : ปีนี้เป็นเรื่องราวการเปลี่ยนโรงเรียน พี่สาวไปเรียนก่อน รับส่งสองโรงเรียนอยู่ประมาณ 3 ปี ก็โอ้โห กระอักนิดนึง เขาก็สนใจและชอบ มีโอเพ่นเฮาส์ ที่สาธิต ม.ธรรมศาสตร์ จริงๆ เป็นหลักสูตรที่ใหม่มาก แพรวเป็นปีที่ 5 ภูมิเป็นปีที่ 8 เขาไปดูโอเพ่นเฮาส์แล้วเขาชอบ เขามีวิธีสอบเข้าที่ไม่เหมือนที่ใด จะวัดความเป็นมนุษย์ในตัวเด็ก วัดแอดติจูด วัดนิสัย การเข้าสังคม เขาก็ทำคะแนนได้ค่อนข้างดี เลยเข้าใจ เพราะลูกจะแข่งเยอะ มีถ้วยมีอะไร นักข่าวจะสัมภาษณ์บ่อย เราก็ภูมิใจและยินดีด้วยนะ แต่เราไม่ได้อินเพราะเราไม่ใช่สายกีฬา เราเป็นเด็กเนิร์ด พอเรื่องนี้เรารู้สึกว่า นี่แหละที่เราสร้างเขามาทั้งชีวิต ที่เราพยายามเลี้ยงเขามาทั้งชีวิต แล้วเขาเป็นเด็กที่โอเค โรงเรียนยอมรับว่าเป็นเด็กที่น่ารัก ก็ดีใจ
เห็นว่าร้องไห้เลย?
ตุ๊ก : ร้องไห้ตั้งแต่เช้ายันเย็น ร้องไม่เลิกอยู่คนเดียวแล้วโทรไปหาอากง อาม่า โทรบอกน้องเลขาที่เคยคลุกคลีกับน้อง
อยากเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กที่เข้าใจโลก อยู่อย่างมีความสุข ซึ่งสิ่งนี้วัดด้วยถ้วยรางวัลไม่ได้ ถ้วยรางวัลก็เป็นอีกแบบนึง แต่ระยะยาวๆ แล้ว อันนี้สำคัญมาก พี่ตุ๊กก็เป็นห่วงมาก?
ตุ๊ก : เป็นห่วงมาก เพราะสุดท้ายแล้วเขาจะอยู่เองโดยไม่มีเรา เราอาจหลงลูกคิดว่าเขาโอเค แต่พอมีคนช่วยบอกว่าโอเค ก็เหมือนช่วยคอนเฟิร์มว่าเราคิดไม่ผิด
น้องภูมิล่ะ รู้มั้ยคุณแม่ร้องไห้?
น้องภูมิ : ไม่รู้ แม่ไม่ได้บอก
ทางออกสุดท้ายคืออะไร?
ตุ๊ก : ก็ในหลายๆ ทางที่เขาทำ อย่างขี่ม้าก็หยุดไปแล้ว เหตุผลหลักที่หยุดก็คือเรื่องค่าใช้จ่าย มันแพงจริงๆ แต่ละเดือน ฉะนั้นก็ให้ขี่สัก 2 ปีนะ หนูขี่เป็นแล้วถ้ามีโอกาสก็มาขี่ใหม่ หรือหนูโตไปทำงานได้ก็มาขี่เอง กับบางอย่างต้องหยุด อย่างฟิกเกอร์ แม่จะหืดขึ้นคอให้ถึงเลเวล 7 ให้ จริงๆ ต้องหยุดตั้งนานแล้วด้วยซ้ำ หมุนให้มันทันและให้เขาอยู่ได้ถึงเลเวล 7 จะคุยกับโค้ชเขาก่อนเลย เขาก็จะทราบดีว่าคุยกันได้ บางอย่างไม่ไหวเราก็อาจหยุด
ถ้าจะไปขนาดนั้นอาจต้องขายบ้าน?
ตุ๊ก : ก็เป็นอีกอย่างนึงที่คิดว่าถ้าไม่หยุดเราก็ต้องหาเงินมาเพิ่ม ทีนี้บ้านเราพอมีมูลค่า แล้วเราอยู่เล็กลง เพราะเราอยู่สามคนเอง ทำความสะอาดมันก็เหนื่อย เราต้องมีผู้ช่วยมีคุณแม่บ้าน อยู่บ้านไซซ์เล็กลงได้อยู่แล้ว แต่ว่าเป็นวัตถุไง ถ้าจะเปลี่ยนต้องมีขั้นตอน ไม่เหมือนทองที่เดินไปขายได้เลย ถ้าอันนั้นเปลี่ยนไซซ์แล้วเหลือสตางค์เอาไปใช้จ่ายได้ ก็เป็นความคิดแรกๆ เหมือนกัน
ลูกๆ รู้มั้ยเรื่องนี้?
น้องแพรว : แม่เคยถามว่าถ้าย้ายบ้านจะโอเคมั้ย หนูก็โอเค
ตุ๊ก : มันก็มีมูลค่าให้เราเปลี่ยนเป็นสตางค์มาใช้จ่าย อยู่หลังเล็กลงได้
น้องภูมิ : เราก็ต้องช่วยแม่เรื่องเงิน และเรื่องเรียน
แสดงว่าพวกหนูก็ต้องตั้งใจเต็มที่ ไม่งั้นแม่ไม่ขายบ้าน เป็นสิ่งสุดท้ายเลยนะเรื่องขายบ้าน
ตุ๊ก : เรื่องอื่นมันเทิร์นง่ายกว่า อันนี้ผ่านการคุยกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ถามเขาเบาๆ ว่าอยากอยู่ที่นี่หรืออะไร คำแรกจะตอบว่าอยากอยู่ที่นี่ก่อน แต่ก็ต้องคุยเหตุผลให้เขาเข้าใจ เพราะเด็กเขาจะตอบด้วยองค์ความคิดเขาแค่ตอนนั้น
ตอนนี้ไม่ว่าตรงไหนขอแค่ให้นอนติดกับแม่ เพราะตอนนี้นอนกองอยู่กับแม่ ไม่แยกนอนเลย?
น้องแพรว : หนูอยากแยกบางวัน แต่ทุกวันก็อยากนอนกับแม่
น้องภูมิ : นอนมาตลอด ก็ขี้เกียจเปลี่ยน
ไม่มีใครอยากแยกตัว?
ตุ๊ก : ไม่มีการพูดเกิดขึ้น แต่เราก็ไม่รู้ว่าเขาคิดอะไรในหัว แต่ตัวเราก็ไม่สะกิด เราไม่อยากได้ยินคำนั้น เราอยู่ด้วยกันก็โอเคแล้ว เหงา
วันที่แยกห้องนอนเพราะอะไร?
น้องแพรว : บางทีทำการบ้านดึกๆ ถ้านาฬิกาปลุกหลายรอบแล้วหนูไม่ยอมตื่น ก็จะเสียงดัง (หัวเราะ)
ตุ๊ก : แล้วปลุกทุกวัน 3 ปีแล้วนะ นางยังตั้งปลุกทุกวันจนถึงวันนี้ แล้วไม่ได้ยิน ตั้งตีสี่ ตีสี่ไม่ตื่น 05.30 น. 05.55 น. 06.15 น. อะไรแบบนี้ แล้วนี่ได้ยินตลอด แม่ก็ปลุกเป็นด่าแทน ทำไมไม่ตื่น ฉันตื่น (หัวเราะ) ฉันตื่นทุกวันเลย เขาตื่นด้วยเรา ก็งงว่าตั้งทำไม
ได้ยินเสียงแม่บ่นแล้วลุกเลย?
น้องแพรว : แม่บอกว่าถ้าไม่ลุกวันหลังก็ไม่ต้องตั้งแล้ว แต่ช่วงหลังได้ยินแล้ว
ตุ๊ก : เมื่อไหร่ เมื่อเช้าฉันก็ปลุก เมื่อเช้าตื่นมาทำไมตีห้า
น้องแพรว : ตื่นมาหนีบผม (หัวเราะ)
น้องภูมิตื่นมั้ย?
ตุ๊ก : คนนี้เขาเร็ว ไม่ได้แต่งตัวอะไรเยอะ สิบนาทีก็ออกจากบ้านได้ ไม่งอแง แต่เขาไม่ได้ยินนาฬิกา ก็งงว่าตั้งทำไม ในเมื่อไม่มีศักยภาพที่จะได้ยิน (หัวเราะ)
เลี้ยงลูกให้เป็นตัวเอง?
ตุ๊ก : เรามีกรอบใหญ่ๆ แค่ผิดชอบชั่วดี และไม่ยุ่ง ไม่ยุ่งคือเป็นเรื่องเขาด้วยหนึ่ง และสนุกกับการเฝ้าดูว่าเอ็งจะไปทางไหน จะใช้วิธีไหนแต่ละอย่าง ทั้งเรื่องเรียนด้วย และทั้งหมด เป็นแม่ที่ดุ แต่เรื่องสไตล์ เรื่องการเลือก การใช้ชีวิตไม่แตะถ้ายังไม่เกิน ไม่เดือดร้อนคนอื่น ไม่เดือดร้อนสิ่งแวดล้อม ไม่ยุ่ง อยากดูด้วยว่าเขาจะใช้วิธีอะไร ไปแนวไหน เพราะมันได้ล้านวิธีเลย อย่างช่วงนึงเขาอยากต่อขนตา แต่ต่อแล้วก็ไม่ชอบเหมือนกัน อยากลองก็ลอง
แม่ดุมั้ย?
น้องภูมิ : เคยดุ บางทีก็ใจดี บางทีเก็บของไม่เรียบร้อย
น้องแพรว : จะพูดเหมือนกันเลย (หัวเราะ)
ตุ๊ก : มีเรื่องเดียว แล้วตีกันได้ทุกวัน
น้องแพรว : บางทีหนูพูดรัวๆ ฟังไม่รู้เรื่อง แม่พูดเร็วแต่แม่พูดชัด แต่หนูไม่รู้เรื่อง
ตุ๊ก : (หัวเราะ) ก็เลยบ่นว่าพูดให้รู้เรื่องหน่อย ทะเลาะกันเยอะนะ แต่เรื่องมีแค่นี้ จนบางทีคิดว่าตัวเองเป็นบ้า ก็ไปปรึกษาเพื่อนที่โรงเรียนทุกวัน เพื่อนก็บอกว่าแกไปหาหมอมั้ย (หัวเราะ) จะเอาอะไรอีก เขาก็พูดให้สติเราแหละ เพื่อนมองบน มองล่าง ส่ายหัว
เลี้ยงลูกสบายๆ ชิลๆ ให้ลูกตัดสินใจเอง รอดูผลว่าเขาจะแก้ยังไง?
ตุ๊ก : บางเด็กชอบอะไรก็ไม่รู้ เพราะไม่เคยลอง ถูกป้อนข้อมูล แต่เข้าใจว่าที่คิดให้ ส่วนใหญ่มาจากความห่วงและความกลัวแหละ เขาอาบน้ำร้อนมาก่อนไม่อยากให้พลาดเหมือนเขา แต่บางทีการพลาดหรือการหกล้ม การเสียหลัก ก็เป็นบทเรียนที่ดี เด็กที่ทำจานแตกก็จะได้รู้ว่าถือยังไงไม่ให้แตกในรอบต่อไป เขาก็จะได้ไอเดีย